เด็กไทยส่วนใหญ่ ไม่รู้จักตัวเอง กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตอนทำงานแล้ว จะดีกว่ามั้ยถ้าเด็กๆ ค้นพบตัวเองว่าเหมาะกับอะไร
Know Are เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านแนะแนวการศึกษาเชิงลึก ที่มีพื้นที่ให้น้องๆ ได้ค้นหาตัวเองผ่านกระบวนการทำกิจกรรมและโค้ชชิ่ง โดยเปิดโอกาสให้หลากหลายช่วงวัย มีกิจกรรมที่ให้น้องได้ค้นหาตัวเองตลอดทั้งปี
น้องๆ มัธยมที่ยังสับสนหรือคิดไม่ออกเลยว่าตัวเองจะทำอะไร ชอบอะไร หรือเหมาะกับอะไร เวิร์คชอป DC Navigator ช่วยแนะนำแนวทาง ให้น้อง ๆ ได้เริ่มต้นในการทบทวนและรู้จักตัวเองนอกเหนือจากค่ายเปิดประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดประสบการณ์จากการศึกษาในระบบแล้ว ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่เราจำเป็นต้องทำคือการทำให้เด็ก “รู้จักตัวเอง” ไม่ใช่เรื่องง่ายกับการจะบอกว่าตัวเองเป็นคนอย่างไร อาจจะพูดได้แบบภาพรวมๆแต่ไม่สามารถบอกได้แบบชัดเจนเป็นประเด็น เป็นข้อๆ สิ่งนี้ทำให้หลายครั้งเราไม่สามารถนำมาเชื่อมโยงต่อได้ว่าตัวเรานั้นเหมาะกับอาชีพในรูปแบบไหน
ให้น้องๆ รู้จักตัวเองมากขึ้นผ่านแบบทดสอบ
ในโลกนี้มีศาสตร์ในการค้นหาตัวเองมากมาย แต่ละศาสตร์ก็มีหลักการที่แตกต่างกันไป สำหรับศาสตร์ที่ Know-Are เลือกนำมาใช้ในการค้นหาตัวเองกับน้องๆนั้นคือ แบบวัดบุคลิกภาพ MBTI (Myers-Briggs Type Indicator)ที่มีการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1962 โดยถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย Isabel Briggs Myers และ Katharine C. Briggs ซึ่งต่อยอดมาจากทฤษฎีของ Carl Jung (คาร์ล จุง) โดยคาร์ล จุง พบว่า พฤติกรรมไม่ได้เป็นลักษณะเฉพาะของคนใดคนหนึ่งแต่หลายๆ คนสามารถมีแบบ (patterns) ของพฤติกรรมที่เหมือนหรือคล้ายๆ กันได้ โดยเป็นพฤติกรรมที่เป็นระบบระเบียบ (Orderly) ที่มีความถาวรคงเส้นคงวา แบบของพฤติกรรมที่ทำให้คนแตกต่างกันก็คือแบบที่คนมักแสดงออกบ่อย ๆ (preferences) ซึ่งจะสะท้อนเจตคติของบุคคลที่มีต่อโลก
คาร์ล จุง ได้ใช้อักษร(ตัวแปร) ทั้ง 8 คือ E I P S T F N J มาจัดเป็นชุด ชุดละ 4 ตัวอักษร ทำให้เกิดเป็นลักษณะบุคลิกภาพทั้งหมด 16 แบบ MBTI (Myers-Briggs Type Indicator) เป็นแบบวัดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะวัดบุคลิกภาพแล้ว ยังมีแนวโน้มในการใช้เลือกอาชีพที่เหมาะสมรวมถึงการเลือกคู่ครองอีกด้วย
แบบทดสอบนี้สามารถหาทำได้ทั่วไปใน Internet แต่ไม่ใช่ตัวเต็ม ซึ่งสิ่งสำคัญที่สำคัญกว่าการทำแบบทดสอบและผลที่ออกมาเป็น Code อักษร 4 ตัวคือการแปลผลจาก Code ทั้ง 4 ตัวนั้นออกมาเป็นความเข้าใจและอธิบายให้ผู้ที่ได้รับผลเห็นภาพและมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการนำผลไปใช้ต่อ ถึงขั้นมีการกล่าวกันว่าหากนำผลของ MBTI ไปใช้ในทางที่ผิดอาจเกิดปัญหาตามมาได้
ยกตัวอย่างเช่น นำไปปิดกั้นโอกาสตัวเองเพราะบอกว่าไม่ใช่ตัวเอง หรือนำไปยึดติดว่าเพราะฉันเป็นแบบนี้คนรอบข้างต้องเข้าใจฉัน ฉันไม่ปรับตัว เป็นต้น การทำแบบทดสอบและการอ่านผลควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาศาสตร์นี้มาแล้วเป็นอย่างดีเท่านั้น