สำหรับน้องๆ มัธยมที่ยังสับสนหรือคิดไม่ออกเลยว่าตัวเองจะทำอะไร ชอบอะไร หรือเหมาะกับอะไร เวิร์คชอป DC Navigator ช่วยแนะนำแนวทาง ให้น้อง ๆ ได้เริ่มต้นในการทบทวนและรู้จักตัวเอง
นอกเหนือจากค่ายเปิดประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดประสบการณ์จากการศึกษาในระบบแล้ว ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่เราจำเป็นต้องทำคือการทำให้เด็ก “รู้จักตัวเอง”
ไม่ใช่เรื่องง่ายกับการจะบอกว่าตัวเองเป็นคนอย่างไร อาจจะพูดได้แบบภาพรวมๆแต่ไม่สามารถบอกได้แบบชัดเจนเป็นประเด็น เป็นข้อๆ สิ่งนี้ทำให้หลายครั้งเราไม่สามารถนำมาเชื่อมโยงต่อได้ว่าตัวเรานั้นเหมาะกับอาชีพในรูปแบบไหน
ในโลกนี้มีศาสตร์ในการค้นหาตัวเองมากมาย แต่ละศาสตร์ก็มีหลักการที่แตกต่างกันไป สำหรับศาสตร์ที่ Know-Are เลือกนำมาใช้ในการค้นหาตัวเองกับน้องๆนั้นคือ แบบวัดบุคลิกภาพ MBTI (Myers-Briggs Type Indicator)ที่มีการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1962 โดยถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดย Isabel Briggs Myers และ Katharine C. Briggs ซึ่งต่อยอดมาจากทฤษฎีของ Carl Jung (คาร์ล จุง)
โดยคาร์ล จุง พบว่า พฤติกรรมไม่ได้เป็นลักษณะเฉพาะของคนใดคนหนึ่งแต่หลายๆ คนสามารถมีแบบ (patterns) ของพฤติกรรมที่เหมือนหรือคล้ายๆ กันได้ โดยเป็นพฤติกรรมที่เป็นระบบระเบียบ (Orderly) ที่มีความถาวรคงเส้นคงวา แบบของพฤติกรรมที่ทำให้คนแตกต่างกันก็คือแบบที่คนมักแสดงออกบ่อย ๆ (preferences) ซึ่งจะสะท้อนเจตคติของบุคคลที่มีต่อโลก
คาร์ล จุง ได้ใช้อักษร(ตัวแปร) ทั้ง 8 คือ E I P S T F N J มาจัดเป็นชุด ชุดละ 4 ตัวอักษร ทำให้เกิดเป็นลักษณะบุคลิกภาพทั้งหมด 16 แบบ MBTI (Myers-Briggs Type Indicator) เป็นแบบวัดที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะวัดบุคลิกภาพแล้ว ยังมีแนวโน้มในการใช้เลือกอาชีพที่เหมาะสมรวมถึงการเลือกคู่ครองอีกด้วย
แบบทดสอบนี้สามารถหาทำได้ทั่วไปใน Internet แต่ไม่ใช่ตัวเต็ม ซึ่งสิ่งสำคัญที่สำคัญกว่าการทำแบบทดสอบและผลที่ออกมาเป็น Code อักษร 4 ตัวคือการแปลผลจาก Code ทั้ง 4 ตัวนั้นออกมาเป็นความเข้าใจและอธิบายให้ผู้ที่ได้รับผลเห็นภาพและมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อการนำผลไปใช้ต่อ ถึงขั้นมีการกล่าวกันว่าหากนำผลของ MBTI ไปใช้ในทางที่ผิดอาจเกิดปัญหาตามมาได้
ยกตัวอย่างเช่น นำไปปิดกั้นโอกาสตัวเองเพราะบอกว่าไม่ใช่ตัวเอง หรือนำไปยึดติดว่าเพราะฉันเป็นแบบนี้คนรอบข้างต้องเข้าใจฉัน ฉันไม่ปรับตัว เป็นต้น การทำแบบทดสอบและการอ่านผลควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาศาสตร์นี้มาแล้วเป็นอย่างดีเท่านั้น
ค่าย DC Navigator จึงเป็น “จุดเริ่มต้น” ที่ช่วยให้น้องๆ ได้มาค้นหาสิ่งที่เหมาะสมตามความถนัด ด้วยแบบทดสอบทางจิตวิทยาที่นำไปเชื่อมโยงกับอาชีพในอนาคตได้ พร้อมรับคำปรึกษาแบบ Private Group (หลายครอบครัว) เพื่อให้เห็นมุมมองและแนวทางเพื่อนำไปพัฒนาน้อง
กิจกรรมวันที่ 1 ทบทวนความชอบ ความถนัด ค้นหาบุคลิกภาพ 09.00 – 17.00 น.
กิจกรรมค้นหาความชอบ ความถนัดและบุคลิกภาพที่เหมาะสมกับอาชีพด้วยแบบทดสอบทางจิตวิทยาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลพร้อม Workshop ที่จะทำให้น้องได้รู้จัก เข้าใจ และมองเห็น “คุณค่า” ในชีวิตมากขึ้นด้วยการกระตุ้นให้คิด และตอบคำถามกับตัวเอง
กิจกรรมวันที่ 2 Sharing แนวทางและวางแผนชีวิต (หลายครอบครัว) มาตามเวลาที่นัดหมายหลังการสมัคร ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง (ครึ่งวัน)
แปรผลบุคลิกภาพทางจิตวิทยาแลกเปลี่ยนมุมมองความคิด และวางแผนอนาคตของน้องพร้อมครอบครัวโดยพี่ชายฝั่ง ฝั่งนที ประภาสะวัต ผู้เชี่ยวชาญด้านแนะแนวการศึกษาที่มีประสบการณ์มานานกว่า 10 ปี
ค่าเข้าร่วมกิจกรรม 9,900 บาท กับการตัดช้อยส์อาชีพที่เหมาะกับตัวน้องให้เหลือเพียง 3 อาชีพ รวมอาหารกลางวันในวัน Workshop วันแรกของกิจกรรม พร้อม Report ผลการวิเคราะห์บุคลิกภาพของน้อง
พี่ชายฝั่ง ฝั่งนที ประภาสะวัต ผู้เชี่ยวชาญด้านแนะแนวการศึกษายุคใหม่ อดีตหัวหน้านิสิตสัมพันธ์ จบการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาเด็กมานานกว่า 10 ปี
รอบ : วันที่ 16-17 พ.ย. 2562
รอบ : วันที่ 14-15 ธ.ค. 2562
หมายเหตุ : หากไม่สะดวกในช่วงเวลาดังกล่าว สามารถนัดทำกิจกรรมแบบ Private (นัดเวลาที่น้องสะดวกเป็นหลัก) หรือทำแบบออนไลน์ได้
“น้องซัลวา” ก่อนหน้านี้มีความฝันแต่ยังไม่ชัดเจน การมาค่าย Dc Navigator เราช่วยกันกับคุณพ่อ ดึงศักยภาพที่มีในตัวน้องออกมา ให้พื้นที่ได้คิดและชัดเจนกับความรู้สึกของตัวเอง จนน้องมีความมั่นใจกับเป้าหมายของตัวเองมากขึ้น
น้องแพร หนึ่งในเด็กค่าย Dc Navigator จากที่สับสน ระหว่าง “แพทย์” กับ “จิตวิทยา” พอมาค่าย แพรเห็นเป้าหมายที่ชัดเจนมีแรงบันดาลใจ ทำตามเป้าหมายที่วางไว้ จนสอบติดจิตวิทยาอินเตอร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย