เพราะไม่รู้ว่าเราเก่งหรือถนัดอะไร
กับคนรอบข้างเสมอ (คนเรามันไม่เหมือนกันปะวะ)
ม.ปลายแล้ว แต่ไม่รู้ว่าอยากเรียนอะไร
- สัมผัสประสบการณ์อาชีพที่ตัวเองสนใจจากการเห็นชีวิต เห็นบรรยากาศการทำงาน และได้ลองลงมือทำจริง (ในส่วนที่เหมาะสมกับอายุตามที่ฝึกงานเห็นสมควร)
- เรียนรู้ชีวิตการทำงาน ฝึกภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับอนาคต ทั้งในเรื่องของการรับผิดชอบตัวเอง การเผชิญปัญหาและความกดดัน
- เก็บเป็นผลงาน ทำ Portfolio เพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยในคณะที่สนใจ
การศึกษาไทย สังคม ผู้ใหญ่ มักบอกให้เด็กขยันเรียนโดยไม่บอกว่าเรียนไปทำไม หรือควรมีเป้าหมายอะไร หลายครั้งผู้ใหญ่ก็มักถามเด็กว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร โดยไม่ได้สนใจว่าการที่เด็กสักคนจะเจอกับเป้าหมายในชีวิตได้ต้องผ่านการเรียนรู้อะไรบ้างและเป็นการโยนภาระความคิดไปกดดันเด็กโดยไม่รู้ตัว
จากปัญหาเหล่านี้ทำให้เราตั้งคำถามว่า แล้วถ้าเราจะเริ่มต้นค้นหาเป้าหมายในชีวิตเราควรเริ่มต้นจากอะไร คำตอบคือ “รู้จักตัวเองและหาประสบการณ์” ใส่ตัวให้เยอะที่สุด
ตามทฤษฎีพหุปัญญา ( Theory of Multiple Intelligences) โดยศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด กล่าวว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น
ปัญหาสำคัญคือในโรงเรียนของการศึกษาภาคบังคับของไทยให้ความสำคัญหลักๆ อยู่เพียง 2 ด้านคือ ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ และด้านภาษา ทำให้เด็กยังขาดประสบการณ์อีกหลายด้านจนไม่มากพอที่จะบอกได้ว่าตัวเองชอบหรือเหมาะกับอะไร
ธุรกิจเพื่อสังคม Know-Are เล็งเห็นปัญหาเหล่านี้จึงจัดโครงการ ค่ายเปิดประสบการณ์อาชีพในฝัน ( DC Master ) ขึ้นเพื่อให้น้องๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะที่หลากหลายผ่านการสัมผัสประสบการณ์จากการเห็นชีวิต เห็นบรรยากาศการทำงาน และได้ลองลงมือทำจริง (ในส่วนที่เหมาะสมกบอายุตามที่ฝึกงานเห็นสมควร) ซึ่งการเรียนรู้แบบนี้เราเรียนว่าเรียนรู้แบบ Problem Base Learning คือให้น้องได้ไปเผชิญกับปัญหาจนเกิดความต้องการอยากแก้ไขปัญหา นำไปสู่การเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆในที่สุด
กระบวนการเหล่านี้หากทำซ้ำจนครบตามทฤษฎีพหุปัญญาแล้วจะเกิดการสะท้อนความคิดของน้องให้ตอบคำถามถึงความชอบ ความสนใจและนำไปสู่เป้าหมายในชีวิตได้ในอนาคต
Workshop วันแรก เป็นวันแห่งการละลายพฤติกรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากกับการให้ความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่และความคุ้นเคยกับเพื่อนร่วมโครงการ จะช่วยให้น้องมี sense of belonging วางใจว่าถ้าแสดงพฤติกรรมอะไรออกไปจะไม่โดนใครดุว่าทำผิดหรือถูก ส่งผลให้มีโอกาสกล้าทำอะไรที่ไม่เคยทำมากขึ้น เพื่อการเปิดรับการเรียนรู้ตลอด 7 วันต่อไปนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การเปิดประสบการณ์ครั้งนี้เกิดประสิทธิภาพและความรู้สูงสุด เพราะเด็กแต่ละคนมีทัศนคติที่แตกต่างกัน ทำให้การมองเหตุการณ์เดียวกันมีความแตกต่างกันตามไปด้วย เราจึงมีกระบวนการที่ช่วยให้น้องฝึกการคิดแบบ “Think Possitive” คือเชื่อมโยงทุกอย่างจากการคิดบวก ทุกเหตุการณ์ที่พบเจอเราจะให้น้องหาเหตุผลที่ทำให้ “ขอบคุณ” สิ่งที่เกิดขึ้น จะช่วยให้น้องสามารถตอบตัวเองได้ว่าชอบหรือไม่ชอบสิ่งไหน ด้วยเหตุผลอะไร นอกจากนี้เราจะสร้างบรรยากาศให้น้องได้เรียนรู้การฝึกการตั้งคำถามที่ดี ฝึกทักษะการสังเกต ฝึกการหาโอกาสและการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ฝึกให้น้องกล้าที่จะขอโอกาสเพื่อได้ลองทำอะไรใหม่
ตามติดชีวิตการทำงานที่น้องจะได้เรียนรู้ตั้งแต่การตื่น หรือเดินทางไปทำงานให้ทันเวลา (กรณีิอาชีพที่ต้องเดินทางไปตามบริษัท ) เพื่อฝึกเรื่องของการรับผิดชอบตัวเอง และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญมากในโลกของการทำงาน และขึ้นชื่อว่า “ทักษะ”ต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกฝน เราจึงต้องเริ่มสร้างสิ่งนี้ให้กับน้องตั้งแต่ช่วงวัยมัธยมศึกษา และเรียนรู้ชีวิตการทำงานของอาชีพที่สนใจ ทั้งการสังเกตการณ์ และพูดคุยกับพี่อาชีพที่ดูแล
ลักษณะการทำงานในแต่ละอาชีพจะมีความแตกต่างกัน อาจไม่ได้สบายเหมือนอย่างน้องที่เคยคิดไว้ โดยในแต่ละวันจะมีสถานการณ์ที่เรากำหนดขึ้นมาซึ่งน้องอาจไม่เคยเจอมาก่อนอาจเป็นรูปแบบของการ Workshop
ระหว่างการตามติดการทำงาน จะมีการประเมินพฤติกรรมในด้านต่างๆ เช่น ความตั้งใจเรียนรู้ ความรับผิดชอบ หรือมารยาทในการทำงาน หากน้องมีพฤติกรรมที่กระทบสต่อการทำงานของตนเอง ทางทีมพี่เลี้ยง จะส่งตัวกลับเพื่อมาพิจารณาในการส่งไปเรียนรู้ต่อพร้อมทั้งสอนวิธีคิดและการปฏิบัติตัว ทั้งนี้การจำลองสถานการณ์เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในอนาคต
หมายเหตุ : กิจกรรมนี้ต้องการรับน้องที่อยากเรียนรู้จริงและทางครอบครัวเข้าใจธรรมชาติของการทำงานเป็นอย่างดีเท่านั้น!
วันของการสรุปผล วิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้มาตลอด 3 วันน้องจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานกับเพื่อนหลากหลายอาชีพ ทำให้ได้เห็นมุมมองใหม่ๆ ของแต่ละอาชีพเพื่อเป็นอีกหนึ่งข้อมูลในการตัดสินใจ นอกจากนี้จะมีกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นความคิด ความรู้สึก และทบทวนถึงเป้าหมายในชีวิตเพื่อให้น้องได้รู้ว่าอาชีพที่บอกว่าชอบในตอนแรกจะใช่ต่อไปหรือไม่ เพื่อเป็นแนวทางที่ดีในอนาคต ผ่านการทำ Reflection เป็นหนึ่งในกระบวนการที่จะช่วยให้น้องค้นหาตัวเองได้เร็วขึ้น แต่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ เหมือนเป็นการที่ให้น้องได้สะท้อนวิธิคิดของตัวเอง ว่าชอบหรือไม่ชอบสิ่งไหน เริ่มจากเรื่องใกล้ตัว เพื่อตัดสิ่งที่ไม่ชอบออกไปได้
ข้อควรรู้ในการเข้าร่วมกิจกรรมนี้
ราคานี้รวม
สอบถามได้ที่ไลน์: @know-are
โทร 097-090-8402
น้องทิว เด็กค่าย Dc Master อาชีพสถาปนิก เอา Portfolio ไปยื่นหลังจากคะแนนถึง ไม่มีกรรมการคนไหนไม่ถามถึงการไปเรียนรู้งานที่บริษัทสถาปนิกชื่อดังที่เคยไปในค่ายเลย ผลออกมาทิวติด 3 ที่ ทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
น้องปอง จากเด็กที่ไม่กระตือรือร้น และไม่ชัดเจนกับเป้าหมายในชีวิต หลังจากมาค่ายเปิดประสบการณ์อาชีพ (Dc Master) ทำให้มีแรงบันดาลใจ และชัดเจนว่าอยาเป็นเจ้าของกิจการ เลยเอาผลงานจากค่าย ไปยื่นทุนที่มหาวิทยาลัยธุรกิจชั้นนำของประเทศไทย อย่างมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จนได้เป็น 1 ใน 8 จาก 200 กว่าคน ได้ทุนเรียนฟรี 100 %