ช่วงนี้ชีวิตรวนไปหมด วันนี้ Knoware มีทริคการจัดการกับเวลา 1 วันควรทำอะไรดี? มาฝากน้อง ๆ วัยนักเรียนกันด้วย ลองเอาไปใช้กันดูนะคะ
.
อย่างแรกเรามาทำความรู้จักกันก่อนค่ะว่า “นาฬิกาชีวิต มันคืออะไร?”
.
นาฬิกาชีวิต คือ รอบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในด้าน แสง อุณหภูมิ และการหาอาหาร แตกต่างกันในช่วงกลางวันและกลางคืน สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ รวมถึงมนุษย์เราใช้จังหวะการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ให้เกิดประโยชน์ในแต่ละวัน ทำให้เกิดการปรับตัว ปรับพฤติกรรม เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละวัน
.
สรุปนาฬิกาชีวิตก็คือวงโครจรการดำเนินชีวิตของมนุษย์โลกใน 1 วันและทุก ๆ 24 ชั่วโมงนั่นเองค่า
.
ช่วงเวลา 05.00 น. – 07.00 น.
เป็นช่วงเวลาที่ควรเริ่มตื่นและเหมาะสมกับการอ่านหนังสือ ประเภทการท่องจำรายละเอียด ฝึกทำโจทย์
.
ช่วงเวลา 07.00 น. – 09.00 น.
รับประทานอาหารเช้า เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายรับสารอาหารได้ดี เพื่อนำไปเลี้ยงสมองได้ทั้งวันและอาบน้ำเพื่อให้ร่างกายสดชื่น
.
ช่วงเวลา 09.00 น. – 11.00 น.
อ่านหนังสือ ทำโจทย์ แบบฝึกหัด ทำข้อสอบเก่า ฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ
.
ช่วงเวลา 11.00 น. – 13.00 น.
รับประทานมื้อเที่ยง หาอะไรสนุก ๆ ดูเพื่อผ่อนคลายสมอง และพยายามไม่ทานอาหารที่มาจากแป้งมากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ง่วงนอนในตอนบ่ายได้
.
ช่วงเวลา 13.00 น. – 16.00 น.
อ่านหนังสือ ทำสรุป ทบทวนเนื้อหา
.
ช่วงเวลา 16.00 น. – 18.00 น.
ออกกำลังกาย เดินออกไปจากโต๊ะ เดินเล่นสนุก ๆ หาอะไรทำที่ช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหว
.
ช่วงเวลา 18.00 น. – 19.00 น.
รับประทานอาหารเย็น อาบน้ำเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกหลังทำกิจกรรมต่าง ๆ
.
ช่วงเวลา 19.00 น. – 21.00 น.
อ่านหนังสือ เช่น ท่องคำศัพท์อ่านสรุปหัวข้อสั้น ๆ อย่าพยายาม ทำโจทย์ เพราะการใช้สมองหนักอาจทำให้เราเก็บไปเครียดก่อนนอนได้
.
ช่วงเวลา 21.00 น. – 05.00 น.
นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เติมพลังงานให้พร้อมสู้กับวันใหม่ ๆ การนอนครบ 8 ชั่วโมงต่อวัน ถือเป็นเรื่องที่ควรทำ เพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูตัวเองได้ และยังเป็นเวลาที่เหมาะสมกับการสร้าง Growth ฮอร์โมน ในวัยน้อง ๆ อีกด้วยค่า
.
แน่นอนว่า ด้วยภาระหน้าที่และความรับผิดชอบต่าง ๆ อาจจะทำให้น้อง ๆ ไม่สามารถดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับเวลาชีวิตได้ทุกวัน แต่อย่างน้อยเมื่อรู้และเลือกปฏิบัติในสิ่งที่พอทำได้ ก็น่าจะเป็นผลดีบ้างไม่มากก็น้อยนะคะ
No Comments